การสื่อสารการเรียนการสอน
ความหมายของสื่อการสอนและสื่อการเรียนรู้
ความหมายของสื่อการสอน
ได้มีนักวิชาการ และนักเทคโนโลยีการศึกษา
ทั้งในประเทศและต่างประเทศได้ให้ความหมายของ “ สื่อการสอน”
ไว้หลายท่าน พอสรุปได้ ดังนี้
เชอร์ส (Shores. 1960 : 1) กล่าวว่า
สื่อการสอนเป็นเครื่องมือช่วยสื่อความหมายใด ๆ ก็ตามที่จัดโดยครูและนักเรียน
เพื่อเสริมการเรียนรู้ เครื่องมือการสอนทุกชนิดเป็นสื่อการสอน เช่น
หนังสือในห้องสมุด โสตทัศนวัสดุต่าง ๆ ทรัพยากรจากชุมชน เป็นต้น
ฮาส และแพคเกอร์ (Hass and PacKer. 1964 : 11) กล่าวว่า
สื่อการสอน คือ เครื่องมือที่ช่วยในการถ่ายทอดสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นจริงได้แก่ ทักษะ
ทัศนะคติ ความรู้ ความเข้าใจ และความซาบซึ้งไปยังผู้เรียน
หรือเป็นเครื่องมือประกอบการสอน ที่เราสามารถได้ยินและมองเห็นได้เท่า ๆ กัน
บราวน์
และคนอื่น ๆ (Brown and other. 1964 : 584) กล่าวว่า
สื่อการสอนหมายถึง จำพวกอุปกรณ์ทั้งหลายที่สามารถเสนอความรู้ให้แก่ผู้เรียน
จนเกิดผลการเรียนที่ดีทั้งนี้รวมถึงกิจกรรมต่าง ๆ
ไม่เฉพาะที่เป็นวัสดุหรือเครื่องมือเท่านั้น เช่น การศึกษานอกสถานที่ การสาธิต
การทดลอง ตลอดจนการสัมภาษณ์ เป็นต้น
เกอร์ลัช
และอีลี (ไชยยศ เรืองสุวรรณ. 2526 :141 : อ้างอิงมาจาก Gerlach
and Ely.) ได้ให้คำจำกัดความของสื่อการสอนไว้ว่า สื่อการสอน คือ
บุคคล วัสดุหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ซึ่งทำให้นักเรียนได้รับความรู้ ทักษะ ทัศนคติ ครู
หนังสือ และสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนจัดเป็นสื่อการสอนทั้งสิ้น
การสื่อสาร(communication) คือ กระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสารระหว่างบุคคลหรือบุคคลต่อกลุ่ม
โดยใช้สัญลักษณ์ สัญญาณ หรือ พฤติกรรมที่เข้าใจ โดยมีองค์ประกอบดังนี้
ผู้ส่ง ---> ข้อมูลข่าวสาร --->
สื่อ ---> ผู้รับ
การสื่อสาร คือ
การอธิบายการสื่อสารในด้านความหมาย กระบวนการ องค์ประกอบ วิธีการ บทบาทหน้าที่
ผล อิทธิพล การใช้
การควบคุม แนวคิดของศาสตร์ต่าง ๆ
แนวโน้มอนาคต
และปรากฏการณ์เกี่ยวกับการสื่อสาร
แต่การอธิบายต้องมีการอ้างอิงอย่างมีเหตุผลที่ได้จากหลักฐาน เอกสาร
หรือปากคำของมนุษย์
ลักษณะและหลักการสื่อสาร แบ่งออกได้ 3 วิธี คือ
1.1 การสื่อสารด้วยวาจา หรือ
"วจนภาษา" (Oral Communication) เช่น
การพูด การร้องเพลง เป็นต้น
1.2 การสื่อสารที่มิใช่วาจา หรือ
"อวจนภาษา" (Nonverbal Communication) และการสื่อสารด้วยภาษาเขียน
(Written Communication) เช่น การสื่อสารด้วยท่าทาง
ภาษามือและตัวหนังสือ เป็นต้น
1.3 การสื่อสารด้วยการใช้จักษุสัมผัสหรือการเห็น
(Visual
Communication) เช่น การสื่อสารด้วยภาพ โปสเตอร์ สไลด์
เป็นต้นหรือโดยการใช้สัญลักษณ์และเครื่องหมายต่าง ๆ เช่น ลูกศรชี้ทางเดิน เป็นต้น
ประเภทของการสื่อสาร แบ่งได้เป็น 4
ประเภท ดังนี้
1. การสื่อสารในตนเอง เป็นการสื่อสารภายในตัวเอง
หมายถึง บุคคลผู้นั้นเป็นทั้งผู้ส่งและผู้รับในขณะเดียวกัน เช่น
การเขียนและอ่านหนังสือ เป็นต้น
2. การสื่อสารระหว่างบุคคล เป็นการสื่อสารระหว่างคน
2 คน เช่น การสนทนา หรือการโต้ตอบจดหมายระหว่างกัน เป็นต้น
3. การสื่อสารแบบกลุ่มชน เป็นการสื่อสารระหว่างบุคคลกับกลุ่มชนซึ่งประกอบด้วยคนจำนวนมาก
เช่น การสอนในห้องเรียนระหว่างครูเพียงคนเดียวกับนักเรียนทั้งห้อง
หรือระหว่างกลุ่มชนกับบุคคล เช่น กลุ่มชนมาร่วมกันฟังคำปราศรัยหาเสียงของผู้สมัครรับเลือกตั้ง
เป็นต้น
4. การสื่อสารมวลชน เป็นการสื่อสารโดยการอาศัยสื่อมวลชนประเภทวิทยุ
โทรทัศน์ ภาพยนตร์ และสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ เช่น นิตรสาร หนังสือพิมพ์ แผ่นพับ
แผ่นโปสเตอร์ ฯลฯ
กระบวนการสื่อสาร
กระบวนการสื่อสาร หมายถึง การส่งสารจากแหล่งหนึ่งไปยังอีกแหล่งหนึ่ง
ซึ่งต้องอาศัยองค์ประกอบการสื่อสารขั้นต้น วิธีที่ใช้มากที่สุด คือ การพูด การฟัง
และการใช้กิริยาท่าทาง
องค์ประกอบของการสื่อสาร ประกอบด้วย
1) ผู้สื่อ
2) ผู้รับ
3) สาร
ปัญหาการสื่อสาร
ปัญหาการสื่อสารส่วนใหญ่เป็นปัญหาด้านจิตวิทยา เช่น ปัญหาเกี่ยว
กับผู้รับไม่สนใจ ไม่ยอมรับรู้ ผู้สื่อสารชอบใช้ภาษาพูด (Verbal
ism) ส่วนปัญหาด้านกายภาพ เช่น ความไม่สะดวก
และความห่างไกลจากแหล่งความรู้ก็มีอยู่ด้วยเช่นกัน
ซึ่งในกระบวนการสื่อสารถ้านำสื่อต่างๆ เข้ามาใช้ก็จะสามารถลดปัญหาต่างๆ
ดังกล่าวได้
ทักษะการสื่อความหมาย
การสื่อความหมาย หมายถึง การพูด การเขียน รูปภาพ และภาษาท่าทาง
การแสดงสีหน้า ความสามารถรับข้อมูลได้อย่างถูกต้องและชัดเจน
ตลอดจนการแสดงออกทางอารมณ์และความรู้สึก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น